บทวิเคราะห์

>> วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เคยมีคนกล่าวไว้ว่า เขื่อน คือ ยาวิเศษขนานเดียวสำหรับการแก้ปัญหา น้ำท่วม ภัยแล้ง และการขาดแคลนพลังงาน เป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางการพัฒนา อย่างไรก็ตามเขื่อนก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เช่นปิดกั้นทางน้ำทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำบางชนิด เช่น ปลาไม่สามารถว่ายไปตามกระแสน้ำเพื่อวางไข่ได้ในช่วงฤดูขยายพันธุ์ เขื่อนยังคงปิดกั้นทางน้ำทำให้การเดินทางทางเรือไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ ปัญหาของการสร้างเขื่อนที่มียังรวมถึงพื้นที่บ้านเรือนและป่าไม้ที่อยู่บริเวณเหนือเขื่อน จะถูกท่วมจมอยู่ใต้น้ำไม่สามารถใช้งานได้ซึ่งจะเห็นได้จากการออกมาประท้วงจากบรรดากลุ่มอนุรักษ์สัตว์ บรรดาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน
ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมีทั้งที่เกิดประโยชน์และเกิดปัญหาต่างๆที่กระทบตามมาซึ่งสามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ ๒ ประเภท คือ ผลกระทบทางด้านภูมิประเทศ และ ภูมิสังคม โดยทางด้านภูมิประเทศจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง มีการกักเก็บน้าไว้ใช้ในยามที่จำเป็น เป็นตัวที่คอยกันน้ำไม่ให้เกิดน้ำป่าใหลหลาก และยังสามารถกันตลิ่งไม่ให้พังจากการกัดเซาะของน้ำ แต่ก็มีผลในด้านลบเช่นเดียวกัน คือ เป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เป็นอย่างมาก และเนื่องจากเขื่อนเป็นการสิ่งก่อสร้างขวางลำน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลมาสะสมในพื้นที่เหนือเขื่อน จนเป็นผลให้ที่ดินบริเวณเหนือเขื่อนถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งที่ดินเหล่านั้นส่วนมากเป็นป่า ธรรมชาติและแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะทำให้สูญเสียทรัพยากรดินตามไปด้วย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่ท้ายเขื่อนพบว่า แร่ธาตุที่รักษาสมดุลของ ระบบนิเวศ ไม่สามารถมาสู่พื้นที่ท้ายน้ำได้ เนื่องจากถูกกักโดยเขื่อนส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน การสูญเสียสัตว์ป่าในการสร้างเขื่อนในตอนเริ่มต้นเมื่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่สูง เช่น ภูเขาจะกลายเป็นเกาะ แก่ง ซึ่งการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ามักเคยชินกับพื้นที่เดิม และเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อย หากหนีไม่ทันก็จะล้มตาย หากหนีทันก็จะถูกล้อมรอบในพื้นที่จำกัด และเมื่อพื้นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน ทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามฝูงได้ และการผสมพันธุ์ในฝูงเดียวกันทำให้ รุ่นต่อไปมีลักษณะด้อยและอ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในแหล่งน้ำ เนื่องจากในระบบนิเวศเดิม พันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ จะเป็นปลาที่ดำรงชีพในแหล่งน้ำไหล แต่เมื่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จนั้นปลาที่ชอบระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ปลาที่ชอบระบบนิเวศที่มีน้ำไหลก็จะลดปริมาณทำให้ระบบนิเวศในแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปลาบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำนั้นเลยก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีโครงการต่างๆที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องสัตว์ป่านี้ ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2529 สืบ นาคเสถียร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ร่วมกับหน่วยทหารที่ควบคุมในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โครงการอพยพสัตว์ป่าสามารถช่วยเหลือชีวิตสัตว์ได้ถึง 1,364 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่น่าพอใจ แ จากการสร้างเขื่อนครั้งนี้ สืบยังคงช่วยชีวิตสัตว์ป่าด้วยหัวใจ มิใช่เพียงเพราะหน้าที่จนกระทั่งเขาได้เข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างท่องแท้ว่า การอพยพสัตว์ไม่อาจช่วยชีวิตสัตว์ได้เลย เพราะผล กระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายแหล่งอาหารแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าซึ่งถือ ได้ว่าเป็นหัวใจของ ผืนป่าทั้งหมดที่ มนุษย์ไม่อาจสร้างขึ้นมาทดแทนได้
ผลกระทบด้านภูมิสังคม เขื่อนสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักเลยก็ว่าได้ และผลที่เกิดตามมาก็คือ สามารถเป็นแหล่งท่องเทียว พักผ่อนหย่อนใจได้ และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพใหม่กับราษฦร เช่น ประมง การเกษตร ตัวอย่างจากเขื่อนภูมิพลราษฎรในพื้นที่ สามารถมีอาชีพ เสริมด้านการประมงได้ เป็นอย่างดี ในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา ราษฎรในท้องถิ่น สามารถจับปลาได้ทั้งสิ้น 25 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 160 ล้านบาทอีกทั้งยังทำให้ระบบ

การชลประทานดีขึ้นโดยสามารถปล่อยน้ำไปช่วยราษฎรในพื้นที่จังหวัด ตาก กำแพงเพชร และบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งสองข้างทาง รวมเนื้อที่ประมาณ 7.5 ล้านไร่ ให้มีการชลประทานที่ดี สามารถเพิ่มผลผลิตได้ แต่ก็ย่อมต้องเกิดผลกระทบในด้านลบเช่นเดียวกันคือเขื่อนส่วนมากจะสร้างขึ้นระหว่างหุบเขาตรงที่ลำน้ำไหลผ่าน เขื่อนเหล่านี้มีขนาดใหญ่โตมาก สันเขื่อนอาจสูงถึงสามร้อยกว่าเมตร ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นกำแพงยักษ์กั้นลำน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำค่อยๆเอ่อท่วมบริเวณหน้าเขื่อน ซึ่งกว่าที่น้ำจะเต็มเขื่อนอาจใช้เวลานานกว่า 3-4 ปีขึ้นไป และเมื่อน้ำเต็มเขื่อนบริเวณหน้าเขื่อนก็จะกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ทำให้น้ำในเขื่อนท่วมพื้นที่ริมน้ำข้างเคียงเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นปริมาณมากมายมหาศาล แต่เนื่องจากเขื่อนมีขนาดใหญ่ระดับน้ำเหนือเขื่อนที่ขึ้นสูงทำให้ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ถูกน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องอพยพ สูญเสียที่ดินทำกิน พื้นที่ป่าไม้ และสูญเสียอาชีพที่พึ่งพิงกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งอาชีพประมงและการพึ่งพาอาศัยทรัพยากรจากป่า การเก็บหาของป่า ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจของชาวบ้านและชุมชน ซุปเปอร์มาเก็ตของคนจนถูกทำลายไปจากการสร้างเขื่อน ฐานทรัพยากรของชาวบ้านและชุมชยถูทำลายไป ถึงแม้จะมีการช่วยเหลือจากรัฐบาลโดยการจัดหาที่อยู่ และที่ทำกินให้ใหม่ โดยมากเป็นการย้ายถิ่นฐาน ไปในบริเวณที่ใกล้กับชุมชนอื่น ทำให้เกิดความรู้สึก แปลกแยก ออกจากสังคมใหม่ และพื้นที่ทำกิน ที่ได้รับมาใหม่อาจ ไม่เหมาะสมต่อการทำกินประเภทเดิม เช่น สภาพที่ดิน แหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้ สภาพวัฒนธรรม ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นจากการสร้างเขื่อนรัชชประภา มีพื้นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งบางส่วนเป็นที่อยู่อาศัยและ ที่ทำกินของราษฎรจำนวน 385 ครัวเรือนในการนี้ ทางรัฐบาลและหน่วยทหารได้ให้ความช่วยเหลือ โดยการจ่ายค่าทดแทน จัดสรรที่อยู่และที่ทำกิน พร้อมปลูกยางพาราให้เต็มพื้นที่ในระยะแรก และจ้างราษฎรเจ้าของสวนแปลงดังกล่าวในอัตราค่าจ้างเดือนละ 1,000 บาทต่อแปลงจนกว่ายางพาราจะอายุได้ 2 ปี และมีโครงการส่งเสริมอาชีพรองให้แก่ราษฎร เช่น การจัดอบรมเคหะกิจแก่แม่บ้าน การตัดเย็บเสื้อผ้า ซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องกล ปลูกผลไม้ เลี้ยงไก่ในแปลงที่อยู่อาศัยเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราต้องคอยช่วยแก้ปัญหา คอยช่วยเหลือ ไม่ให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เช่นเดียวกับที่เกิดปัญหากับนางไฮ ขันจันทา ที่เกิดปัญหากับเขื่อนห้วยละห้าโดยมีการระบายน้ำออกจากเขื่อนเพื่อเอานาคืน เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลจากทาราชการดีเท่าที่ควร แต่ใช่ว่าจะเกิดปัญหากับเฉพาะพื้นที่ในการสร้างเขื่อนเท่านั้นแต่ในบริเวณใกล้เคียงก็ประสบปัญหาด้านสุขภาพด้วย คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแหล่งน้ำจากพื้นที่ที่มีน้ำไหล เป็นน้ำนิ่ง ซึ่งโดยทั่วไปภายหลังการสร้างเขื่อนเรามักพบโรคที่มักจะมากับระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ โรคมาเลเรีย โรคเท้าช้าง และโรคพยาธิใบไม้เลือด เนื่อง จากพาหะนำโรคทั้ง 3 ชนิดอันได้แก่ ยุงลาย ยุงดำและหอยทาก สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ภายหลังการสร้างเขื่อน จำเป็นต้องดูแลระบบสุขาภิบาล ระบบชลประทาน และแหล่งน้ำเพื่อบริโภคเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันการระบาด ของโรคเหล่านี้

Read more...

องค์ความรู้

แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องเขื่อน

ควรเลี่ยงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นเขื่อนปิดลำน้ำเพื่อก่อให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ดังกล่าวข้างต้น โดยหันไปสร้างเขื่อนขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่เรียกว่า “เขื่อนแบบไหลผ่าน” เขื่อนประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะ
คือ ไม่มีการสร้างกำแพงเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อกักน้ำให้ได้ครั้งละมากๆ
แต่จะเป็นเขื่อนที่มีสันกำแพงเตี้ยๆที่มีความสูงเพียงไม่กี่สิบเมตร ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้หรือกักเก็บน้ำได้แต่เพียงเล็กน้อย และมักมีประตูเปิดปิดให้น้ำไหลผ่านตัวเขื่อนได้ การปิดประตูเขื่อนก็เพียงเพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้นจากระดับเดิมเพียงเล็กน้อยเพื่อประโยชน์ในการทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าเพื่อประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ด้วยลักษณะดังกล่าวพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมจึงมีน้อย การออกแบบและสร้างเขื่อนจะพยายามให้มีผลกระทบต่อลักษณะการไหลของลำน้ำเดิมให้น้อยที่สุด การผลิตไฟฟ้าจะกระทำเฉพาะช่วงฤดูกาลที่มีน้ำหลากและถือเป็นวัตถุประสงค์รองมากกว่าเป็นวัตถุประสงค์หลัก ดังนั้นลักษณะเขื่อนแบบไหลผ่านนี้จึงเป็นเขื่อนแบบอเนกประสงค์อย่างแท้จริง ขณะที่เขื่อนแบบแรก (ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่นิยมสร้างกันในประเทศไทย) มักจะให้ความสำคัญต่อการผลิตพลังงานเป็นประโยชน์เบื้องต้นมากกว่าอย่างอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราควรเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ในการสร้างเขื่อนแบบไหลผ่านมีมุมมองในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเขื่อนแตกต่างไปจากการสร้างเขื่อนแบบปิดลำน้ำแทบจะตรงกันข้าม กล่าวคือการสร้างเขื่อนแบบไหลผ่านถือว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเป็นเพียงผลพลอยได้อย่างหนึ่งเท่านั้น แต่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเขื่อนในด้านอื่นๆมีความสำคัญเท่าเทียมกับการผลิตไฟฟ้า เช่น ประโยชน์จากการอุปโภคบริโภค การเกษตร และการขนส่งทางน้ำ เป็นต้น




เขื่อนกับการพัฒนา
จากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งเป็นอย่างมาก ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนไม้ไผ่กันคลื่น ซึ่งเป็นวิธีทางธรรมชาติ เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ก็มีความคงทนแข็งแรง ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยใช้งบประมาณ 1.6 ล้านบาท แนวเขื่อนมีความยาว 440 เมตร ทนรับกระแสน้ำได้เป็นอย่างดี อายุการใช้งานนานประมาณ 5-7 ปี และเท่าที่ได้สอบถามชาวบ้านในพื้นที่พบว่า ชาวบ้านมีความสบายใจมากขึ้น เพราะได้พื้นที่หน้าดินเพิ่มขึ้น ตะกอนดินสูงขึ้นมาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และสามารถลดความแรงของกระแสน้ำได้ ทั้งนี้ สาเหตุของการกัดเซาะหน้าดินพื้นที่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากเป็นร่องน้ำทางทะเลขนาดใหญ่และเป็นทางโค้ง กระแสน้ำจึงพุ่งตรงเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณชุมชนบ้านท่าเลก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งได้หายไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน พบว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งประสบปัญหาเรื่องช่องทางที่จะเขาจอดเรือ เพราะเว้นช่องทางเดินเรือคับแคบไปซึ่งก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไข และเน้นให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมสร้างความเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว และทางหน่วยทหารได้เข้าไปมีส่วนในการช่วยชาวบ้านด้วยการรณรงค์ให้ความรู้พร้อมทั้งช่วยในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ปตอ.พัน 1 รอ. ได้เข้าไปช่วยชาวบ้านในการทำเขื่อนไม้ไผ่เพื่อกัการกัดเซาะตามแนวชายฝั่ง




Read more...