บทวิเคราะห์
>> วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า เขื่อน คือ ยาวิเศษขนานเดียวสำหรับการแก้ปัญหา น้ำท่วม ภัยแล้ง และการขาดแคลนพลังงาน เป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางการพัฒนา อย่างไรก็ตามเขื่อนก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เช่นปิดกั้นทางน้ำทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำบางชนิด เช่น ปลาไม่สามารถว่ายไปตามกระแสน้ำเพื่อวางไข่ได้ในช่วงฤดูขยายพันธุ์ เขื่อนยังคงปิดกั้นทางน้ำทำให้การเดินทางทางเรือไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ ปัญหาของการสร้างเขื่อนที่มียังรวมถึงพื้นที่บ้านเรือนและป่าไม้ที่อยู่บริเวณเหนือเขื่อน จะถูกท่วมจมอยู่ใต้น้ำไม่สามารถใช้งานได้ซึ่งจะเห็นได้จากการออกมาประท้วงจากบรรดากลุ่มอนุรักษ์สัตว์ บรรดาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน
ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมีทั้งที่เกิดประโยชน์และเกิดปัญหาต่างๆที่กระทบตามมาซึ่งสามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ ๒ ประเภท คือ ผลกระทบทางด้านภูมิประเทศ และ ภูมิสังคม โดยทางด้านภูมิประเทศจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง มีการกักเก็บน้าไว้ใช้ในยามที่จำเป็น เป็นตัวที่คอยกันน้ำไม่ให้เกิดน้ำป่าใหลหลาก และยังสามารถกันตลิ่งไม่ให้พังจากการกัดเซาะของน้ำ แต่ก็มีผลในด้านลบเช่นเดียวกัน คือ เป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เป็นอย่างมาก และเนื่องจากเขื่อนเป็นการสิ่งก่อสร้างขวางลำน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลมาสะสมในพื้นที่เหนือเขื่อน จนเป็นผลให้ที่ดินบริเวณเหนือเขื่อนถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งที่ดินเหล่านั้นส่วนมากเป็นป่า ธรรมชาติและแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะทำให้สูญเสียทรัพยากรดินตามไปด้วย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่ท้ายเขื่อนพบว่า แร่ธาตุที่รักษาสมดุลของ ระบบนิเวศ ไม่สามารถมาสู่พื้นที่ท้ายน้ำได้ เนื่องจากถูกกักโดยเขื่อนส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน การสูญเสียสัตว์ป่าในการสร้างเขื่อนในตอนเริ่มต้นเมื่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่สูง เช่น ภูเขาจะกลายเป็นเกาะ แก่ง ซึ่งการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ามักเคยชินกับพื้นที่เดิม และเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อย หากหนีไม่ทันก็จะล้มตาย หากหนีทันก็จะถูกล้อมรอบในพื้นที่จำกัด และเมื่อพื้นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน ทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามฝูงได้ และการผสมพันธุ์ในฝูงเดียวกันทำให้ รุ่นต่อไปมีลักษณะด้อยและอ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในแหล่งน้ำ เนื่องจากในระบบนิเวศเดิม พันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ จะเป็นปลาที่ดำรงชีพในแหล่งน้ำไหล แต่เมื่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จนั้นปลาที่ชอบระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ปลาที่ชอบระบบนิเวศที่มีน้ำไหลก็จะลดปริมาณทำให้ระบบนิเวศในแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปลาบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำนั้นเลยก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีโครงการต่างๆที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องสัตว์ป่านี้ ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2529 สืบ นาคเสถียร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ร่วมกับหน่วยทหารที่ควบคุมในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โครงการอพยพสัตว์ป่าสามารถช่วยเหลือชีวิตสัตว์ได้ถึง 1,364 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่น่าพอใจ แ จากการสร้างเขื่อนครั้งนี้ สืบยังคงช่วยชีวิตสัตว์ป่าด้วยหัวใจ มิใช่เพียงเพราะหน้าที่จนกระทั่งเขาได้เข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างท่องแท้ว่า การอพยพสัตว์ไม่อาจช่วยชีวิตสัตว์ได้เลย เพราะผล กระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายแหล่งอาหารแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าซึ่งถือ ได้ว่าเป็นหัวใจของ ผืนป่าทั้งหมดที่ มนุษย์ไม่อาจสร้างขึ้นมาทดแทนได้
ผลกระทบด้านภูมิสังคม เขื่อนสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักเลยก็ว่าได้ และผลที่เกิดตามมาก็คือ สามารถเป็นแหล่งท่องเทียว พักผ่อนหย่อนใจได้ และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพใหม่กับราษฦร เช่น ประมง การเกษตร ตัวอย่างจากเขื่อนภูมิพลราษฎรในพื้นที่ สามารถมีอาชีพ เสริมด้านการประมงได้ เป็นอย่างดี ในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา ราษฎรในท้องถิ่น สามารถจับปลาได้ทั้งสิ้น 25 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 160 ล้านบาทอีกทั้งยังทำให้ระบบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น