องค์ความรู้

>> วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องเขื่อน

ควรเลี่ยงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นเขื่อนปิดลำน้ำเพื่อก่อให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ดังกล่าวข้างต้น โดยหันไปสร้างเขื่อนขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่เรียกว่า “เขื่อนแบบไหลผ่าน” เขื่อนประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะ
คือ ไม่มีการสร้างกำแพงเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อกักน้ำให้ได้ครั้งละมากๆ
แต่จะเป็นเขื่อนที่มีสันกำแพงเตี้ยๆที่มีความสูงเพียงไม่กี่สิบเมตร ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้หรือกักเก็บน้ำได้แต่เพียงเล็กน้อย และมักมีประตูเปิดปิดให้น้ำไหลผ่านตัวเขื่อนได้ การปิดประตูเขื่อนก็เพียงเพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้นจากระดับเดิมเพียงเล็กน้อยเพื่อประโยชน์ในการทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าเพื่อประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ด้วยลักษณะดังกล่าวพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมจึงมีน้อย การออกแบบและสร้างเขื่อนจะพยายามให้มีผลกระทบต่อลักษณะการไหลของลำน้ำเดิมให้น้อยที่สุด การผลิตไฟฟ้าจะกระทำเฉพาะช่วงฤดูกาลที่มีน้ำหลากและถือเป็นวัตถุประสงค์รองมากกว่าเป็นวัตถุประสงค์หลัก ดังนั้นลักษณะเขื่อนแบบไหลผ่านนี้จึงเป็นเขื่อนแบบอเนกประสงค์อย่างแท้จริง ขณะที่เขื่อนแบบแรก (ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่นิยมสร้างกันในประเทศไทย) มักจะให้ความสำคัญต่อการผลิตพลังงานเป็นประโยชน์เบื้องต้นมากกว่าอย่างอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราควรเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ในการสร้างเขื่อนแบบไหลผ่านมีมุมมองในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเขื่อนแตกต่างไปจากการสร้างเขื่อนแบบปิดลำน้ำแทบจะตรงกันข้าม กล่าวคือการสร้างเขื่อนแบบไหลผ่านถือว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเป็นเพียงผลพลอยได้อย่างหนึ่งเท่านั้น แต่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเขื่อนในด้านอื่นๆมีความสำคัญเท่าเทียมกับการผลิตไฟฟ้า เช่น ประโยชน์จากการอุปโภคบริโภค การเกษตร และการขนส่งทางน้ำ เป็นต้น




เขื่อนกับการพัฒนา
จากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งเป็นอย่างมาก ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนไม้ไผ่กันคลื่น ซึ่งเป็นวิธีทางธรรมชาติ เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ก็มีความคงทนแข็งแรง ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยใช้งบประมาณ 1.6 ล้านบาท แนวเขื่อนมีความยาว 440 เมตร ทนรับกระแสน้ำได้เป็นอย่างดี อายุการใช้งานนานประมาณ 5-7 ปี และเท่าที่ได้สอบถามชาวบ้านในพื้นที่พบว่า ชาวบ้านมีความสบายใจมากขึ้น เพราะได้พื้นที่หน้าดินเพิ่มขึ้น ตะกอนดินสูงขึ้นมาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และสามารถลดความแรงของกระแสน้ำได้ ทั้งนี้ สาเหตุของการกัดเซาะหน้าดินพื้นที่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากเป็นร่องน้ำทางทะเลขนาดใหญ่และเป็นทางโค้ง กระแสน้ำจึงพุ่งตรงเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณชุมชนบ้านท่าเลก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งได้หายไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน พบว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งประสบปัญหาเรื่องช่องทางที่จะเขาจอดเรือ เพราะเว้นช่องทางเดินเรือคับแคบไปซึ่งก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไข และเน้นให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมสร้างความเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว และทางหน่วยทหารได้เข้าไปมีส่วนในการช่วยชาวบ้านด้วยการรณรงค์ให้ความรู้พร้อมทั้งช่วยในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ปตอ.พัน 1 รอ. ได้เข้าไปช่วยชาวบ้านในการทำเขื่อนไม้ไผ่เพื่อกัการกัดเซาะตามแนวชายฝั่ง




0 ความคิดเห็น: